จังหวัดสตูล

ประวัติจังหวัดสตูล


ประวัติ ความเป็นมาของจังหวัดสตูลในสมัยก่อนกรุง ศรีอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวไว้ ณ ที่ใด สันนิษฐานว่าในสมัยนั้น ไม่มีเมืองสตูล คงมีแต่หมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบชายฝั่งทะเล

ใน สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สตูลเป็นเพียงตำบลหนึ่งอยู่ในเขตเมืองไทรบุรี ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเมืองไทรบุรี ดังปรากฎในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ว่า "ตาม เนื้อความที่ปรากฏดังกล่าวมาแล้ว ทำให้เห็นว่าในเวลานั้น พวกเมืองไทรเห็นจะแตกแยกกันเป็นสองพวก คือ พวกเจ้าพระยาไทรปะแงรันพวกหนึ่ง และพวกพระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราชได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเขตแดนติดต่อกับเมืองนครศรีธรรมราช พวกเมืองสตูลคงจะมาฟังบังคับบัญชาสนิทสนมข้างเมืองนครศรีธรรมราชมากกว่า เมืองไทร แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้เพียง ๒ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม ผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูล ต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่ แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เข้าใจว่าเชื้อพระวงศ์ของพระอภัยนุราช (ปัศนู) คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูลและฟังบังคับบัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราช อย่างครั้งพระยาอภัยนุราชหรือยิ่งกว่านั้น"

เรื่อง เกี่ยวกับเมืองสตูลยังปรากฎในหนังสือพงศาวดาร เมืองสงขลา แต่ข้อความที่ปรากฎบางตอนเกี่ยวกับชื่อผู้ว่าราชการเมืองสตูล ไม่ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ประวัติเกี่ยวกับเมืองสตูลในการจัดรูปแบบการปกครองเมือง ตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รักษาเมืองไทรบรี เมืองเปอร์ลิส และเมืองสตูลเป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า "มณฑลไทรบุรี" โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาไทรบุรีรามภักดี เจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิต) เป็นข้าราชการเทศาภิบาลมณฑลไทรบุรี เมืองสตูลได้แยกจากเมืองไทรบุรีอย่างเด็ดขาด ตามหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมาลา ยู ซึ่งลงนามกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๒) จากหนังสือสัญญานี้ยังผลให้ไทรบุรีและปลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลคงเป็นของไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อ ปักปันเขตแดนเสร็จแล้ว ได้มีพระราชโองการโปรดให้เมืองสตูลเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๓)

ใน ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมืองสตูลก็มีฐานะยกเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยสืบต่อมาจนถึง กระทั่งทุกวันนี้

คำว่า"สตูล" มาจากคำภาษามาลายูว่า "สโตย" แปลว่ากระท้อน อันเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่เมืองนี้ ซึ่งต่อมาได้รับการตั้งสมญานามเป็นภาษามาลายูว่า "นคร สโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) " หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา  ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้

จังหวัด สตูล แม้จะอยู่รวมกับไทรบุรีในระยะเริ่มแรกก็ตาม แต่จังหวัดสตูลก็เป็นจังหวัดที่มีดินแดนรวมอยู่ในประเทศไทยตลอดมา ระยะแรก ๆ จังหวัดสตูล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอมำบัง อำเภอทุ่งหว้า และกิ่งอำเภอละงู ซึ่งอยู่ในการปกครองของอำเภอทุ่งหว้า ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอมำบังเป็นอำเภอเมืองสตูล สำหรับอำเภอทุ่งหว้า ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือกลไฟจากต่างประเทศติดต่อ ไปมาค้าขายและรับส่งสินค้าเป็นประจำ สินค้าสำคัญของอำเภอทุ่งหว้า คือ "พริกไทย" เป็นที่รู้จักเรียกตามกันในหมู่ชาวต่างประเทศว่า"อำเภอสุไหวอุเป " ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๗ การปลูกพริกไทยของอำเภอทุ่งหว้าได้ลดปริมาณลง ชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำการค้าขายต่างพากันอพยพกลับไปยังต่างประเทศ ราษฎรในท้องที่ก็พากันอพยพไปหาทำเลทำมาหากินในท้องที่อื่นกันมาก โดยเฉพาะได้ย้ายไปตั้งหลักแหล่งที่กิ่งอำเภอละงูมากขึ้น ทำให้ท้องที่กิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้นอย่างรวมเร็ว และในทางกลับกัน ทำให้อำเภอทุ่งหว้าซบเซาลง

ครั้ง ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ ทางราชการพิจารณาเห็นว่ากิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้น มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นกว่าอำเภอทุ่งหว้า จึงได้ประกาศยกฐานกิ่งอำเภอละงูเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอละงู และยุบอำเภอทุ่งหว้าเดิมเป็นกิ่งอำเภอทุ่งหว้า เรียกว่า กิ่งอำเภอทุ่งหว้า ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอละงู ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ กิ่งอำเภอทุ่งหว้าจึงได้รับสถานะเดิมกลับคืนมาเป็นอำเภอทุ่งหว้า

ปัจจุบันจังหวัดสตูล แบ่งการปกครองออกเป็น ๖ อำเภอ ๑ กิ่งอำเภอ คือ
๑. อำเภอเมืองสตูล
๒. อำเภอละงู
๓. อำเภอควนกาหลง
๔. อำเภอทุ่งหว้า
๕. อำเภอควนโดน
๖. อำเภอท่าแพ
๗. อำเภอมะนัง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดสตูล



ตราประจำจังหวัด
รูปพระสมุทรเทวาสถิตอยู่บนแท่นหินกลางทะเล
เบื้องหลังมีรัศมีพระอาทิตย์อัสดง
พระสมุทรเทวา คือ เทวดาผู้ปกป้องรักษามหาสมุทร
บัลลังค์หิน คือ วิมารของเทวดา
พระอาทิตย์อัสดง คือ ฝั่งทะเลตะวันตก หรือมหาสมุทรอินเดียนั่นเอง
อักษร ย่อจังหวัดสตูล : "สต"
 
ธงประจำ จังหวัดสตูล
คำ ขวัญประจำจังหวัด: "สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์"



ดอกไม้ ประจำจังหวัด: " ดอกกาหลง"
เดิมคือดอก กระดังงา ตามความคิดของพระยาสมันตรัฐบุรินทร์(ตุ๋น บินอับดุลลาห์)โดยมีเหตูผลตามคุณสมบัติคือ
๑ กลีบดอกสวยงาม
๒ ก้านดอกแข็งแรงทนทานไม่ร่วงลงดินง่าย
๓ กลิ่นหอมจัดทวนลม
๔ ทำบุหงารำไปได้ดีกว่าดอกไม้ชนิดอื่นในท้องถิ่น
แต่ก็ถูกเปลี่ยนตามความคิดของหัวหน้าส่วนราชการในการประชุม คราวเดียวกับการเปลี่ยนต้นไม้ประจำเมือง
หัวหน้าส่วนบางคนที่เป็นคนจังหวัดสตูลก็คัดค้านแต่ผลสุด ท้ายก็ถูกเปลี่ยนเป็นดอกกาหลงมาจนทุกวันน ี้ทั้งข้อ ๑ และ ๒ ไม่มีหลักฐานอ้างอิงเป็นทางการ แต่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป ในสมัยนั้นทั่วทั้งเมืองจะมีต้นกระดังงา(ไทย) งอกงามหลายจุด เช่น หลังมัสยิดอากีบี หน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลและกระดังงาจีน(กลีบหนา) ก็มีการปลูกกันทั่วไปเช่นเดียวกับต้นสายหยุด ซึ่งยังนิยมปลูกจนทุกวันนี้ สำหรับเอกสารอ้างอิงคงสูญหายหรือไม่มีใครเก็บไว้ แต่ประชาชนทั่วไปทราบดี ส่วนดอกกาหลงนั้นไม่มีใครรู้จักโดยเฉพาะคนสตูลดั้งเดิม
 


ต้นไม้ ประจำจังหวัด: ต้นหมากพลูตั๊กแตน
เนื่องจากชื่อสตูล เพี้ยนมาจากภาษามาลายู คือ “Setol”หรือ “Setul” จากรากศัพท์ ภาษากรีก “Santul” แปลว่า “กระท้อน”
ผลไม้ลือชื่อของไทย
 
ในสมัย นายหิรัญ ศิษฎิโกวิท เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล หัวหน้าส่วนป่าไม้ร่วมกับสรรพากรจังหวัดได้เสนอเปลี่ยนต้นไม้
ประจำเมืองในที่ประชุมประจำเดือนหัวหน้าส่านโดยกำหนดต้น กระซิกหรือมากพลูตั๊กแตนเป็นตัวตั้ง แต่มีผู้คัดค้าน มติวันนั้นจึงไม่มี แต่ต่อมาจังหวัดมีหนังสือเวียนพร้อมชื่อต้นไม้หลายชนิดถึงหัวหน้าส่วนให้ เลือกต้นไม้ที่ควรเป็นต้นไม้ประจำเมืองแทนต้นกระท้อน
ปรากฏว่ามีผู้เลือกต้นกระซิกมากกว่าต้นไม้ชนิดอื่น “ต้นกระซิก” จึงกลายเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสตูลตั้งแต่บัดนั้น ซึ่งชาวสตูลที่ได้รับการศึกษาและเป็นคนดั้งเดิมยังคงความแปลกใจมาจนทุก วันนี้
 
สี้ประจำจังหวัด: เขียว - เหลือง
ปรากฏมาแต่ดั้งเดิมที่ผู้รู้บอกว่าเป็นสีของการศึกษา จึงใช้เป็นสีประจำของโรงเรียนประจำจังหวัดด้วย ตามที่ได้ยินมานั้น
จะเห็นได้ว่าสีเขียวมีความหมายถึงความเขียวขจีของพฤกษาโดย ทั่วไปดูร่มรื่น ร่มเย็น อันหมายถึงความสงบร่มเย็นเป็นสุขของชาวสตูล ส่วนสีเหลืองนั้นหมายถึง สีของกษัตริย์ หรือเจ้าเมืองซึ่งได้ทำประโยชน์แก่ท้องถิ่นนี้มาโดยตลอด แต่มาภายหลังมีผู้ให้ความหมายเพิ่มเติมว่าเป็นสีแห่งธรรมะ ทั้งพุทธและอิสลาม ซึ่งอยู่รวมกันอย่างสมานฉันท์ตั้งแต่บรรพกาล
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น